วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏับัติการ "เว็บไซต์ไร้ความร้อนกับ YWC"

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
“เว็บไซต์ไร้ความร้อนกับ YWC”

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของประเทศไทยอย่างมาก ไม่ว่าสาขาวิชาความรู้ใดๆ ต่างก็ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนช่วยเกือบทั้งสิ้น ตั้งแต่การศึกษาค้นคว้า การหาข้อมูลอ้างอิง การทำรายงานล้วนแล้วแต่มีอินเตอร์เน็ตเข้าไปมีส่วนช่วยเสมอ อินเตอร์เน็ตจึงเปรียบได้ดั่งห้องสมุดที่มีหนังสือเป็นล้านๆเล่ม ทุกศาสตร์ทุกแขนงวิชา ทั้งหมดสามารถศึกษาค้นคว้าได้โดยผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่ค้นคว้านี้ก็ล้วนมาจากผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการทำเว็บไซต์ ที่สร้างเพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกด้วยระบบอินเตอร์เน็ตนี่เอง แต่ทั้งนี้อินเตอร์เน็ตก็ยังคงเป็นดาบ ๒ คม ที่มีทั้งคุณประโยชน์และโทษภัยได้เช่นกัน เยาวชนไทยในปัจจุบันนี้ มีการเรียนรู้และใช้งานอินเตอร์เน็ตกันค่อยข้างไว สถานศึกษาทุกแห่งย่อมมีคอมพิวเตอร์ และเกือบทุกแห่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ จึงมีผลทำให้การเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา มีการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์เข้าไปด้วย ในชั้นมัธยมศึกษานี้เองสถานศึกษาหลายๆแห่ง ได้สอนให้นักเรียนได้รู้จักและใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างจริงจัง รวมถึงการจัดทำเว็บไซต์ สอนให้นักเรียนได้ใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์ การสมัครอีเมล และสถานศึกษาหลายๆแห่งมีเว็บไซต์ของตัวเอง และในนั้นเองก็มีผลงานของนักเรียนอยู่ด้วย เป็นที่น่ายินดีที่นักเรียนในสมัยนี้เองมีการพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเกินคาดหมาย เนื่องจากความรู้ในโลกของอินเตอร์เน็ตนี้เองเป็นความรู้ที่สามารถหาได้จากภายนอกห้องเรียน นักเรียนที่สนใจเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ส่วนตัว ทำให้เกิดเป็นแฟชั่นของเด็กสมัยใหม่ที่มีประโยชน์ แต่ก็ใช่ว่าความรู้ตรงนี้จะหาได้ง่ายนัก ทั้งนี้ต้องเกิดจากความขยันอ่าน ขยันทำด้วย บางคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี กว่าจะเข้าใจ กว่าจะปรับแต่งเว็บไซต์ได้ตามใจ บางครั้งเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง และยังขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา บางคนก็ถึงกับท้อและเลิกที่จะพัฒนาต่อไป
อีกประการหนึ่งที่ทุกฝ่ายกำลังเล็งเห็นถึงปัญหาและช่วยกันแก้ไข นั่นคือภาวะโลกร้อน ซึ่งมิอาจละเลยหรือมองข้ามไปได้ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกันรณรงค์และปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ซึ่งกลุ่มที่เริ่มต้นได้ดีที่สุดควรเริ่มต้นจากเยาวชนของชาติที่กำลังเติบโตขึ้น
ด้วยเหตุนี้เองทางชมรมเยาวชนผู้ดูแลเว็บไทย ภายใต้การดูแลของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ได้เล็งเห็นถึงส่วนสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจและเทคนิคในการจัดทำเว็บไซต์แก่เยาวชนรุ่นใหม่ ที่มีความสนใจ แต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์โดยใช้ CMS (Content Management System) หรือ ระบบที่ช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสามารถพัฒนาเว็บไซต์ที่ตนสนใจขึ้นได้ด้วยตนเอง และสามารถใช้เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นในการติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ โดยในโครงการนี้ได้มุ่งเน้นให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการช่วยลดภาวะโลกร้อน และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา วิธีการแก้ไข และการสร้างเครือข่ายที่ช่วยรณรงค์เพื่อยับยั่งภาวะโลกร้อน ด้วยความพร้อมของทางชมรมเองเชื่อว่าการส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้และศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจและชื่นชอบ จะเป็นส่วนที่ช่วยให้โลกอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยในอนาคตมีความมั่นคง แข็งแรง และมีเกราะป้องกัน ที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความรู้จักกันคุ้นเคยกันจากการเข้าร่วมอบรม การอบรมที่สอดแทรกจริยธรรมและช่วยเสริมสร้างความสามัคคีเข้าไปด้วย จะทำให้สังคมออนไลน์มีความสงบสุข และปราศจากสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่สร้างความเสื่อมเสียให้แก้สังคมออนไลน์


วัตถุประสงค์ของการแข่งขัน
๑. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ฝึกทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์แก่เยาวชนที่มีความสนใจ
๒. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะคิดและสรรค์สร้างสิ่งดีๆแก่สังคม
๓. เพื่อให้เยาวชนที่อยู่ในต่างจังหวัด ได้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์
๔. เพื่อเสริมสร้างสังคมออนไลน์ยุคใหม่ ให้เกิดความสงบสุข และปราศจากสิ่งที่สร้างความเสื่อมเสียแก่เยาวชนและแก่สังคมออนไลน์เอง


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น
๒. เกิดสิ่งใหม่ๆ จากพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่
๓. เยาวชนที่อยู่ในต่างจังหวัด ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์
๔. เกิดความสงบสุขกับสังคมออนไลน์ และปราศจากสิ่งที่สร้างความเสื่อมเสียแก่เยาวชนและแก่สังคมออนไลน์เอง

ลักษณะกิจกรรม
การอบรมการใช้ CMS เพื่อสร้างเว็บไซต์เป็นเวลาทั้งหมด ๒ วัน

ระยะเวลาดำเนินการ
วันเสาร์ที่ ๒๖ ถึงอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ระยะเวลาการเตรียมงาน
วันเสาร์ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึง ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

สถานที่ปฏิบัติงาน
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวสุดารัตน์ อะไพวรรณ์
2. นางสาวเพ็ญศิริ บุญชัย

ผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๔๐ คน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม
๑. ต้องเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
๒. ต้องมีพื้นฐานการทำเว็บภาษา HTML
๓. มีความสนใจและต้องการที่จะจัดทำเว็บไซต์ของตนเองอย่างจริงจัง
๔. สามารถเข้าร่วมและอบรมได้ตลอดระยะเวลาการอบรม ๒ วัน

การรับสมัคร
รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม โดยการคัดเลือกผู้เข้าอบรมจำนวน ๔๐ คน จากผู้สมัครทั้งหมดโดยผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครได้จากฝ่ายแนะแนวของทางวิทยาลัย และส่งใบสมัครได้ที่ฝ่ายแนะแนว เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ ๑ ถึง ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ โดยถือเอาวันที่สมัครในเว็บไซต์เป็นสำคัญ

กิจกรรมในโครงการ
๑. ฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์
๒. กิจกรรมสานสัมพันธ์ และเสริมสร้างจริยธรรม
๓. กิจกรรมที่เสริมสร้างการทำงานเป็นทีม


สิ่งที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
๑. เอกสารประกอบการอบรม
๒. พื้นที่เว็บไซต์ เพื่ออัพโหลดเว็บ 10 MB ต่อกลุ่ม (๑ ปี)
๓. เกียรติบัตรรับรอง

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนแจกเอกสาร
09.00 - 09.30 น. กล่าวเปิดงานและแนะนำโครงการ
09.30 - 10.30 น. แย่งกลุ่ม และแนะนำ Xoops
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น. อบรม Installation และทดลองลงจริง
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันและกิจกรรมสัมพันธ์
13.00 - 15.30 น. การใช้งาน Xoops
15.30 - 16.00 น. ชี้แจงหัวข้อที่ต้องทำในวันถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552
08.30 - 10.30 น. อบรมการใช้งาน Xoops และทำงานกลุ่ม
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น. อบรมการใช้งาน Xoops และทำงานกลุ่ม
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. อัพโหลดและนำเสนอผลงาน
15.00 - 16.00 น. มอบรางวัล,เกียรติบัตร ,พีธีปิด


ตารางขั้นตอนการปฏิบัติงาน






15 ธันวาคม 2550 – 24 ธันวาคม 2552
- ประชุมคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่
- รวบรวมรายชื่อโรงเรียนและที่อยู่
- รวบรวมรายชื่อสปอนเซอร์
- จัดทำใบสมัคร,เอกสารโครงการ,เอกสารประกอบการอบรม,เอกสารขอสถานที่ ,เอกสารขอสปอนเซอร์,เอกสารจดหมายไปยังโรงเรียน
- จัดทำโลโก้,เว็บไซต์,แบนเนอร์
- ขอสถานที่ และขอสปอนเซอร์


21 ธันวาคม 2552
- สำรวจสถานที่
- เก็บข้อมูล


24 ธันวาคม 2552 – 28 ธันวาคม 2552
- เช็คความเรียบร้อยของงานก่อนประชาสัมพันธ์จริง


29 ธันวาคม 2552 – 25 มกราคม 2552
- ประชาสัมพันธ์ (Online และฝ่ายแนะแนวของโรงเรียน)
- รับสมัครและคัดเลือกโดยทางโรงเรียน


25 มกราคม 2552
- เตรียมสถานที่และอุปกรณ์


26 ธันวาคม 2552 – 27 ธันวาคม 2552
- อบรม


28 กุมภาพันธ์ 2552 – 2 กุมภาพันธ์ 2552
- ประเมินผล
- สรุปผล

แผนการประชาสัมพันธ์โครงการ
1. โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ส่งไปให้กับทางโรงเรียน
2. จดหมายประชาสัมพันธ์ไปยังโรงเรียน
3. เว็บไซต์

การประเมินผลโครงการ
ประเมินผลจากใบประเมินและผลงานของผู้เข้าอบรมที่อัพโหลดขึ้นที่ Sub domain name ที่จัดเตรียมไว้ให้
ฝ่ายงานต่างๆ
ฝ่ายวิชาการ : อาม, หยก
- จัดการอบรมให้แก่พี่เลี้ยงที่จะเป็นพี่ประจำกลุ่มน้องที่เข้าฝึกอบรม
- เป็นวิทยากรในการอบรม
- จัดเตรียม software ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการอบรม
- ตรวจสอบความพร้อมของระบบที่จะอบรม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ : อาม
- จัดทำlogo และเว็บประชาสัมพันธ์
- จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
- ประสานงานการประชาสัมพันธ์กับทางโรงเรียน
- แนะนำน้องๆ ในโรงเรียนเป้าหมาย

ฝ่ายรับสมัครและคัดเลือก : หยก
- รวบรวมข้อมูลผู้สมัคร
- เช็คการรายงานตัวยืนยันว่าจะมา ถ้ามีการยกเลิกให้โทรแจ้งตัวสำรอง

ฝ่ายเอกสาร : อาม
- เอกสารใบสมัคร
- เอกสารขอสถานที่จัดกิจกรรม
- เกียรติบัตร
- เอกสารการอบรม
- ใบลงทะเบียน
- ใบประเมิน
- ใบขอสปอนเซอร์
- เอกสารจดหมายไปยังโรงเรียน
- เอกสารเชิญวิทยากร

ฝ่ายเหรัญญิก : หยก
- ดำเนินการเรื่องงบประมาณ
- เตรียมใบสำหรับเบิกจ่ายงบ และทำบัญชี เบิกจ่าย
ฝ่ายพัสดุอุปกรณ์และสวัสดิการ : อาม
- เตรียมเครื่องเสียงที่ใช้ในการอบรม
- เตรียมอุปกรณ์สันทนาการ
- เตรียมของที่ระลึกของงาน
- จัดเตรียมสถานที่ เพื่อการจัดกิจกรรม ทั้งการอบรม มอบเกียรติบัตร และสันทนาการ
ฝ่ายประเมินผล : หยก
- ทำการแจกและเก็บรวบรวมใบประเมินผล
- ทำรายงานสรุปผล
งบประมาณ

กิจกรรม QCC






กิจกรรม QCC

1. ความหมายและความสำคัญของ QCC


กิจกรรม QCC (Quality Control Cycle) หมายถึง การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มการควบคุมคุณภาพ คือ การบริหารงานด้านวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและผลผลิต ให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายป้องกันและลดปัญหาการสูญเสียทั้งวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เวลาการทำงาน และผลผลิตกิจกรรมกลุ่ม คือ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน หรือสร้างผลงานตามเป้าหมายซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน วิธีการทำงาน เครื่องจักร เครื่องใช้ ระเบียบกฏเกณฑ์ และอื่นๆกิจกรรม QCC คือ กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไขปรับปรุงและว่างแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบหลักการพื้นฐานกิจกรรม QCCหลักการพัฒนาคุณภาพ







1. พัฒนาคน
- ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
- ให้การยอมรับ และเคารพในความเป็นสมาชิกขององค์กร
- ให้โอกาสทุกคนได้แสดงความสามารถของตนเอง
- ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และยินดีร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

2. พัฒนางาน

- ใช้วงจรคุณภาพ PDCA
- ใช้เทคนิคการระดมสมอง ให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์
- ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน
- ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม

3. พัฒนาทีมงาน

- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ
- เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน พบปัญหา และมีแนวทางสำเร็จร่วมกัน
- มีความสมัครใจ และร่วมใจทำงานอย่างต่อเนื่อง
- มีระบบการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
- มีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
- ใช้เทคนิคการพัฒนางานทั้ง 4 วิธี

ความหมายของ Q.C.C.
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า Q.C.C. มาจากภาษาอังกฤษว่า Quality Conlity Circle ซึ่งแปลว่า การบริหารโดยการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันนี้ องค์การธรกิจเอกชนต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก คำว่า คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติหรือลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้บริการ การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานต่าง ๆ ในระหว่างการผลิตที่ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ป้องกันไม่ให้การทำงานผิดไปจากกำหนด หาทางลดปริมาณของเสีย เพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลา กลุ่มสร้างคุณภาพ หมายถึง กลุ่มคนเหมาะสมขนาดเหมาะสมที่ทำงานอย่างเดียวเกี่ยวข้องกัน รวมตัวอย่างอิสระ เพื่อร่วมมือละช่วยกันปรับปรุงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ กล้าหาญ วรพุทธพร ( 2525 : 18 ) ได้ให้คำจำกัดความของ Q.C.C. อย่างสั้น ๆ ว่า คนกลุ่มน้อย ณ สถานที่ปฏิบัติงานเดียวกันรวมตัวกันโดยสมัครใจ โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับต้น ( First Line Supervisor ) เป็นแกนกลางเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงงาน โดยตนเองอย่างเป็นอิสระ แต่ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ นภดล เชนะโยธิน (2531 : 188 )




กล่าวโดยสรุปว่า การบริหารโดยระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาและควบคุมคุณภาพด้วยกลุ่ม ฉะนั้น การบริหารโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ หมายถึง กิจการร่วมกันของ กลุ่มพนักงานรวมตัวกัน โดยสมัครใจ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ




กิจกรรมของ Q.C.C. แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิจกรรมที่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- การเพิ่มผลผลิต
- การลดจำนวนของเสียของผลิตภัณฑ์
- การลดจำนวนของลูกค้าที่ส่งคืน เนื่องจจากผลผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ
- การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง


2. กิจกรรมที่มาสามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- ทำให้ความร่วมมือของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น
- ลดความขัดแย้งในการทำงานลง แนวความคิดพื้นฐานของ Q.C.C.


ในการนำกิจกรรมของ Q.C.C. มาใช้ในวงการธุรกิจในสมัยปัจจุบันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐานดังนี้ ( ลีลา สินานุเคราะห์ 2530 : 40 )
1. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ
2. เพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศในองค์การให้แจ่มใส
3. เพื่อดึงความสามารถทั้งหมดทีมีอยู่ในบุคคล ออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ จนถึงขีดสูงสุดห่งความสามารถที่เขามีอยู่ หลักการสำคัญของ Q.C.C. หลักกานที่สำคัญในการนำกิจกรรมกลุ่มควบคุณภาพมาพัฒนา ในด้านการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันนี้ ก็เนื่อง จากแนวความคิดในการบริหารสมัยใหม่ ต้องการให้พนักงานในระดับหัวหน้าและพนักงานทั่วไปมีความสำนึก 4 ประการ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ( Participated by Every - one )
2. การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ ( Teamwork Consciousness )
3. การรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ( Problem Consciousness
4. การรู้จักปรับปรุงด้วยตนเอง ( Improvement Consciousness ฉะนั้น การบริหารงานโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ นอกจากให้สมาชิกที่ร่วมกลุ่มได้มีจิต สำนึกใน 4 ประการ ข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยหลักการของวัฏจักรเคมิ่ง ( Deming Cycle )ในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1. การวางแผน ( Plan : P )
2. การปฏิบัติ ( Do : D ))
3. การตรวจสอบ ( Check : C )
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )